ท่านอาจสงสัยว่า ทำไมต้องตรวจสุขภาพตา หากท่านไม่พบความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา หรือการมองเห็น แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคทางตาบางโรค ไม่แสดงอาการให้เห็นจนกว่าจะอยู่ใน ขั้นที่รุนแรง ซึ่งอาจไม่สามารถรักษาให้เป็นปกติได้ ดังนั้นท่านจึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตา อย่างละเอียดอย่างน้อยสองปีต่อหนึ่งครั้ง และเมื่อท่านอายุ 40ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โอกาสที่จะเกิดโรคทางตามีสูงขึ้นพร้อมกับอายุที่มากขึ้น ตัวอย่างเช่น โรคต้อหินพบใน ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ซึ่งไม่มีอาการใดๆ เลยประมาณ 0.5%
ขั้นตอนแรกในการตรวจสุขภาพตา คือการวัดระดับการมองเห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งช่วยให้ทราบว่าท่าน สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลได้ดีมากเท่าไร โดยการอ่านแผนภูมิตัวเลขซึ่งมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ผลของการวัดระดับการมองเห็นด้วยตาเปล่าจะได้รับการวัดออกมาในระยะห่าง20ฟุต โดยเทียบกับการมองเห็นของคนทั่วไป ตัวอย่างเช่น การมองเห็นในระดับ 20/200 หมายถึง ตัวเลขที่เล็กที่สุดที่ท่านสามารถอ่านได้ ในระยะห่าง 20ฟุต คนทั่วไปสามารถอ่านได้ในระยะ 200ฟุต ซึ่งหมายความว่าท่านไม่สามารถมองเห็นได้ดี เท่ากับคนทั่วไป การสอบใบขับขี่ด้วยตาเปล่าผ่านได้ จะต้องมีการมองเห็นอยู่ที่ระดับ 20/40
ดังนั้นการมองเห็นในระดับ 20/40 จึงถือเป็นการมองเห็นปกติตามกฎหมาย สำหรับการมองเห็นในระดับ 20/20 ถือว่า เป็นการมองเห็นที่ดีที่สุด หากท่านไม่สามารถมองเห็นได้ในระดับ 20/20 ขั้นตอนต่อไปในการตรวจ คือ การตรวจด้วยเครื่องวัดสายตาอัตโนมัติ ซึ่งเป็นการตรวจหาความผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียง
หากท่านไม่สามารถมองเห็นได้ในระดับ 20/20 การตรวจด้วยเครื่องวัดสายตาอัตโนมัติ สามารถ ตรวจหาความผิดปกติในการมองเห็นของท่านได้ เช่น สายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียง ซึ่งเกิดจากกำลังการรวมแสงไม่พอดีกับความยาวของลูกตา การวัดสายตาด้วยเครื่องวัดอัตโนมัติ สามารถหาค่าความผิดปกติในการมองเห็นของท่าน และมีการเปลี่ยนเลนส์ในแบบต่างๆ เพื่อให้ได้การมองเห็นที่ดีที่สุดในตาแต่ละข้าง ซึ่งจักษุแพทย์จะใช้ผลจากการวัดสายตานี้ เพื่อใช้ตัดแว่นสายตาซึ่งเหมาะสมกับ ค่าสายตาของท่าน และค่าสายตาที่แน่นอนในการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
การวัดความดันตา เป็นการตรวจหาโอกาสที่จะเป็นโรคต้อหิน ซึ่งเกิดจากดวงตาไม่สามารถทน ความดันภายในตัวเองได้ ผู้ที่เป็นโรคต้อหินส่วนใหญ่จะไม่มีอาการใดๆ และมีความดันตาสูงกว่าปกติ ซึ่งอยู่ที่ 10-20มิลลิเมตรปรอท หากตรวจแล้วพบว่ามีความดันตาผิดปกติ จักษุแพทย์จะทำการตรวจอย่าง ละเอียดว่าเป็นโรคต้อหินหรือไม่
ขั้นตอนสุดท้ายของการตรวจสุขภาพตา คือ การพบจักษุแพทย์ โดยจักษุแพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียด วิเคราะห์ผลการตรวจ และสรุปผลให้ท่านทราบ แพทย์อาจแนะนำให้มีการตรวจเพิ่มเติม อย่างละเอียด เพื่อหาโรคทางตาบางชนิดหรืออาจแนะนำให้ใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยในการมองเห็น เช่น แว่นสายตา และอาจมีการรักษาปัญหาที่พบในระหว่างการตรวจ หรือแนะนำให้ไปพบจักษุแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาต่อไป
1. งดใส่คอนแทคเลนส์
ก่อนวันตรวจวิเคราะห์สภาพตาคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม(Soft Lens)ควรงดใส่ 3วัน ก่อนตรวจ คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง(Hard Lens) ควรงดใส่ 14วันก่อนตรวจ สามารถใช้แว่นสายตาแทนใน ระหว่างที่ไม่ได้ใส่คอนแทคเลนส์
2. งดยาบางประเภท
งดทานยาแก้สิว ก่อนวันตรวจ 1เดือน งดทานยานอนหลับหรือยาที่มีส่วนผสมของ ยานอนหลับ หากใช้ยาประจำควรแจ้งแพทย์ก่อน
3. ข้อมูลสำคัญอื่นๆที่ควรทราบก่อนการตรวจวิเคราะห์สภาพตา
แพทย์ผู้ตรวจวิเคราะห์สภาพตาจะเป็นแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดให้กับท่าน
4. เวลาที่ใช้ในวันที่ตรวจวิเคราะห์สภาพตา
ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม.(นับจากเวลานัดหมาย)
5. ขั้นตอนในการตรวจวิเคราะห์สภาพตา
5.1 ลงทะเบียนผู้เข้ารับการรักษาใหม่
5.2 การรับชมข้อมูล เพื่อศึกษารายละเอียดของการรักษา
5.3 การตรวจวัดสภาพของดวงตาด้วยเครื่องมือแพทย์ประเภทต่างๆ
5.4 การตรวจวัดสายตาทั้งก่อนและหลังหยอดยาขยายม่านตา
5.5 การหยอดยาขยายม่านตา
5.6 การวิเคราะห์ยาขยายม่านตา
5.7 การวิเคราะห์สภาพตา ทั้งหมดโดยจักษุแพทย์ผู้ที่ทำการผ่าตัด
6.การสรุปผลการตรวจวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
6.1 ท่านมีสุขภาพตาสมบูรณ์แข็งแรง ท่านสามารถนัดผ่าตัดการรักษาได้ทันที
6.2 ท่านไม่สามารถรักษาภาวะสายตาผิดปกติได้ อาจเนื่องจากเหตุผลต่างๆจากสภาพของดวงตา สภาพร่างกายหรือสภาพจิตใจ ฯลฯ
6.3 ท่านอาจจะสามารถเข้ารับการรักษาภาวะสายผิดปกติได้ แต่ต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สภาพ ดวงตากลับสู่สภาพปกติ
7.อาการหลังการหยอดยาขยายม่านตาด้วยยา
7.1 มองเห็นไม่ชัดเจน ภาพเบลอ
7.2 มองใกล้ลำบาก เมื่อใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์
7.3 สู้แสงจ้าลำบาก อาจช่วยบรรเทาได้โดยการใส่แว่นกันแดด (ในกรณีที่ท่านนัดตรวจในตอนกลางวัน)